Green Ocean Strategy เทรนด์ธุรกิจยุคใหม่ สู้กันด้วยหัวใจสีเขียว

3 ก.ย. 2567

SME Trend

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ทำให้การทำธุรกิจยุคใหม่ ทุกบริษัทต่างพุ่งเป้ามาที่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจนเกิดการแข่งขันกันในตลาดที่เรียกว่า “Green Ocean Strategy” ขึ้นมา นอกจากความรักษ์โลกจะช่วยสร้างภาพลักษณ์องค์กรได้แล้ว การทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษี สินเชื่อธุรกิจ อย่าง Green Loan แต่การแข่งขันในน่านน้ำสีเขียวนี้จะเข้มข้นมากแค่ไหน ไปเตรียมตัวกันเลย

 

ความหมายของ Green Ocean

การแข่งขันทางการตลาดที่เน้นเรื่องของ “ภาพลักษณ์” องค์กร ด้วยการดำเนินธุรกิจที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เพื่อสร้างการรับรู้ให้ผู้โภคเห็นว่าธุรกิจนี้มีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ได้มุ่งเน้นในการหาผลกำไร
 


ธุรกิจแบบ Green Ocean ต้องเป็นอย่างไร?

  1. ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานทดแทน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้วัสดุรีไซเคิลหรือยั่งยืน
  2. มีแนวทางการตลาดที่ยั่งยืน เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างสินค้าที่สามารถรีไซเคิลได้ และการส่งเสริมให้ลูกค้าเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  3. มีความรับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินธุรกิจที่ไม่หวังแต่ทำกำไร แต่ยังสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การสนับสนุนกิจกรรมการกุศล การลงทุนในโครงการที่ส่งเสริมความยั่งยืน และการมีนโยบายในการทำงานที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น

จุดเด่นของกลยุทธ์ตลาดแบบ Green Ocean

  • ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดสนใจสิ่งแวดล้อม
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรได้
  • เน้นการสร้างรายได้จากการพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์กลยุทธ์
  • สามารถทำธุรกิจได้ปกติ โดยที่ทำ CSR ร่วมด้วย




5 ประโยชน์ของ Green Ocean ต่อธุรกิจ

  1. ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การนำแนวทางการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้หลายทาง เช่น การลดการใช้พลังงานโดยการใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน หรือการลดขยะและการรีไซเคิลวัสดุ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการจัดการขยะและซื้อวัตถุดิบใหม่
  2. เพิ่มความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ธุรกิจที่มุ่งมั่นในการรักษาสิ่งแวดล้อมมักจะได้รับการยอมรับจากสาธารณะและลูกค้า การมีภาพลักษณ์ที่ดีในเรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมสามารถเสริมสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์และเพิ่มความจงรักภักดีของลูกค้า
  3. ช่วยดึงดูดลูกค้าและนักลงทุนลูกค้าและนักลงทุนในปัจจุบันมักจะให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ธุรกิจที่มีการปฏิบัติตามหลักการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงมีแนวโน้มที่จะดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้
  4. การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอาจช่วยให้ธุรกิจมีความได้เปรียบในการแข่งขัน เนื่องจากหลายประเทศมีการออกกฎหมายและข้อบังคับที่ส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกปรับหรือมาตรการอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
  5. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชนการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างธุรกิจกับชุมชนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อมและการช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภคและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น




Green Loan อาวุธทางการเงินสำหรับ SME

สำหรับ SME ที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือมีโครงการในธุรกิจที่จะช่วยเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้น สามารถติดอาวุธทางการเงินเพื่อช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ด้วยการขออนุมัติสินเชื่อ Green Loan จากสถาบันการเงินไม่ว่าจะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง ขยายกิจการ หรือลงทุนในการพัฒนาหรือปรับปรุงธุรกิจ ทั้งในรูปแบบที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันตัวอย่างการขออนุมัติสินเชื่อ เช่น โครงการปลูกป่า, โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน หรือ การติด Solar rooftop เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานจากแหล่งกำเนิดที่ก่อให้เกิดมลพิษในโรงงาน หรืออาคารที่ใช้ดำเนินธุรกิจ ฯลฯ

การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่เพียงแต่เป็นการตอบสนองต่อความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นกลยุทธ์ที่สามารถนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางการเงินและการสร้างความเชื่อมั่นในองค์กรอีกด้วย ธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมจึงมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาวและสร้างผลกระทบที่ดีต่อทั้งโลกและชุมชนของตน


ที่มาข้อมูล :  salikadigimusketeers

สาระ SME น่ารู้ที่เกี่ยวข้อง