Affiliate Marketing กลยุทธ์สร้างธุรกิจผ่านนายหน้า วินทั้งคนขายและผู้ช่วยขาย

17 ม.ค. 2567

SME Trend

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเข้าไปในโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหน ก็มักจะเห็นคนทำนายหน้า หรือที่เรียกว่า Affiliate Marketing กันเต็มไปหมด ในแง่ของการทำธุรกิจในฝั่งของนายหน้าแล้ว ถือเป็นการเริ่มต้นธุรกิจแบบจับเสือมือเปล่า ไม่ต้องลงทุนซื้อสินค้ามาขายเอง เพียงแค่แนะนำ บอกต่อก็ได้รับค่าตอบแทนกลับมา ส่วนในฝั่งของผู้ขายก็ได้รับประโยชน์เช่นเดียวกัน เพราะมีคนมาช่วยขายและโปรโมตสินค้าให้ การทำ Affiliate Marketing จึงเป็นกลยุทธ์ที่ SME สามารถใช้สร้างธุรกิจของตัวเองให้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า


สร้าง Affiliate Marketingอย่างไร ?

Affiliate Marketing คือ วิธีทำการตลาดโดยใช้ “นายหน้า” เป็นคนกลางที่ช่วยขายและโปรโมตสินค้าให้กับเจ้าของธุรกิจด้วยการนำลิงก์สินค้าและบริการต่างๆ จากเว็บไซต์ไปแนะนำต่อเพื่อให้ส่งคนไปซื้อสินค้าบนเว็บไซต์นั้นๆ และก็จะได้รับค่าคอมมิชชัน กลับมาเป็นค่าตอบแทน
 

ผู้มีส่วนร่วมใน Affiliate Marketing

  1.  เจ้าของธุรกิจ เจ้าของสินค้าที่ต้องการโฆษณา  (Seller & Product Creator) ซึ่งจะเป็น ผู้จ่ายค่าคอมมิชชั่นให้กับนายหน้าเพื่อช่วยโปรโมตสินค้าและทำการปิดการขายให้ได้
  2. แพลตฟอร์ม ที่เชื่อมต่อระหว่างนายหน้า และเจ้าของธุรกิจ (Affiliate Network) อย่างที่นิยมในปัจจุบัน เช่น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ Shopee , Lazada , TikTok ฯลฯ
  3. ผู้ที่แนะนำสินค้า หรือ นายหน้า (Affiliate) ที่เป็นตัวแทนช่วยแนะนำบอกต่อ สินค้าออกไปเพื่อให้คนตามมาซื้อสินค้า
  4. ผู้บริโภค (Customer) ลูกค้าที่ได้รับสินค้าที่ตรงใจ


ข้อดีของการทำ Affiliate Marketing สำหรับเจ้าของธุรกิจ

  1. ใช้ต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโปรโมต โฆษณาสินค้า
  2. มีผู้ช่วยในการขาย ทำให้แบรนด์ สินค้าเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
  3. เจ้าของธุรกิจสามารถนำข้อมูลของลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้านำไปวิเคราะห์ ปรับใช้กับสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ยิ่งขึ้น
  4. ทำให้เกิดการสร้างรายได้แบบ Passive Income กับนายหน้าสินค้า ทำให้มีแรงจูงใจที่จะช่วยรีวิว แนะนำบอกต่อ และสร้างสรรค์คอนเทนต์ใหม่ๆ ออกมาเพื่อช่วยขายสินค้า
     



 

วิธีการจ่ายค่าคอมมิชชันสำหรับนายหน้า มี 3 รูปแบบ

  1.  Pay Per Click จ่ายค่าคอมมิชชันเมื่อลูกค้าคลิกลิงก์เข้ามาดูสินค้า
  2. Pay Per Lead จ่ายต่อเมื่อมีการสมัครหรือลงทะเบียน ผ่านลิงก์
  3. Pay Per Action จ่ายค่าคอมมิชชั่นเมื่อลูกค้าซื้อสินค้า หรือสมัครบริการผ่านลิงก์นั้น


ขั้นตอนการทำ Affiliate Marketing

  1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เจ้าของธุรกิจจะต้องวางกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนว่าลูกค้าเป็นใคร จะ ใช้แพลตฟอร์มใดในการสื่อสาร เช่น ถ้าลูกค้ามีอายุ 15-30ปี คนกลุ่มนี้นิยมใช้โซเชียลมีเดียแบบใดมากที่สุดก็จะได้เลือกใช้เครื่องมือนั้นในการทำ Affiliate Marketing
  2. มีสินค้าและโปรโมชันที่โดนใจ ทั้งสองสิ่งนี้ถือเป็นหัวใจของการทำ Affiliate Marketing เพราะถ้าสินค้าดีแต่โปรโมชันไม่โดนใจลูกค้าก็อาจไม่กดซื้อสินค้า หรือถ้าคิดโปรโมชันเด็ดมากแต่สินค้าไม่น่าสนใจ ต่อให้จะใช้อินฟลูเอนเซอร์หรือมีนายหน้าช่วยขายมากแค่ไหนก็ไม่สามารถขายดีได้
  3. เลือกอินฟลูเอนเซอร์ให้ตรงกับแบรนด์และสินค้าที่จะโปรโมต โดยไม่จำเป็นจะต้องเลือก อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง มีค่าตัวสูง แต่ก็ต้องมีผู้ติดตามมากในจำนวนหนึ่ง ที่สำคัญต้องมีความเหมาะสมกับแบรนด์ มีความเชื่อในสินค้า สามารถสร้างคอนเทนต์ได้เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมอยากซื้อได้
  4. ใช้แพลตฟอร์มที่เหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มจะมีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกัน รวมถึงเงื่อนไขในการทำ Affiliate Marketing ด้วย อีกเรื่องที่เจ้าของธุรกิจจะต้องระมัดระวังคือการกำหนดราคาขายของสินค้า ที่ต้องคำนวณส่วนแบ่ง ค่านายหน้าอย่างรอบคอบเพื่อจะได้รับประโยชน์อย่างวิน วินกันทั้งผู้ขายและผู้ช่วยขาย
  5. ใช้เครื่องมือการตลาดอื่นๆ ช่วยส่งเสริมตัวแทนในการโปรโมตสินค้า เช่น การทำ SEO SEM เพื่อช่วยให้คอนเทนต์ติดอันดับในการคนหาบน search engine การซื้อโฆษณาบนโซเชียลมีเดียเพื่อให้คอนเทนต์เข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
     


Affiliate Network ยอดนิยม

  1. TikTok Shop ถือเป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ นิยมทำคอนเทนต์ผ่านคลิปวิดีโอขนาดสั้นทำให้ลูกค้าสามารถเห็นถึงหน้าตาสินค้า วิธีการใช้งานได้อย่างชัดเจนทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจสั่งซื้อ
  2. Shopee , Lazada ,Priceza แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดฮิตที่เจ้าของธุรกิจสามารถลงขายสินค้าได้ง่าย แถมยังมีเครื่องมือช่วยทำ Affiliate Marketing มากมายทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายของนายหน้าเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

 

การทำ Affiliate Marketing นับเป็นกลยุทธ์ที่สามารถทำได้ทั้งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพราะสามารถช่วยในการสร้างแบรนด์ สร้างยอดขายให้เติบโตโดยที่ทั้งผู้ขายและผู้ช่วยขายต่างก็วินวินกันทั้งคู่

#ThaiCredit #SMEกล้าให้ #standby #everyonematters #สินเชื่อSME #สินเชื่อไทยเครดิต #ธนาคารไทยเครดิต

 

 

ที่มาข้อมูล : sunnysideupstudio

สาระ SME น่ารู้ที่เกี่ยวข้อง