Collaboration Marketing กลยุทธ์ร่วมมือให้ธุรกิจโตแบบทวีคูณ

1 พ.ย. 2567

SME Playbook

หมดยุคแล้วที่จะทำธุรกิจแบบโดดเดี่ยว เพราะการทำธุรกิจยุคใหม่ ต้องใช้วิธีทำตลาดแบบร่วมมือ หรือที่เรียกกันว่า Collaboration Marketing เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์หรือสินค้าของทั้งสองฝ่าย ทำให้เกิดแคมเปญการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 

ประโยชน์ของการตลาดแบบร่วมมือ

  1. ขยายฐานลูกค้าและ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น เมื่อแบรนด์ทั้งสองจับมือทำงานร่วมกันทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าของกันและกัน จึงช่วยเพิ่มการรับรู้และขยายฐานลูกค้าของแต่ละแบรนด์ได้กลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้นถึง 2 เท่า
  2. ลดค่าใช้จ่ายในการทำตลาด การแชร์ทรัพยากร เช่น ค่าทำโฆษณา และค่าใช้จ่ายในการสร้างสื่อ สามารถช่วยให้ทั้งสองแบรนด์ประหยัดงบประมาณได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีในการผลิต ซึ่งทั้งสองแบรนด์อาจมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันออกไป การได้แลกเปลี่ยนความรู้ หรือร่วมกันทำงานจะก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี หรือสินค้าใหม่ๆ ออกมา
  3. สร้างความน่าเชื่อถือ เมื่อแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมาร่วมมือกัน จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าหรือบริการของแต่ละแบรนด์ ยิ่งถ้าเป็นแบรนด์ใหม่การได้ร่วมมือกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงอยู่ก่อนแล้วก็จะช่วยทำให้ลูกค้าเปิดใจกับแบรนด์ได้ง่ายขึ้น
  4. ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้ทันสมัย พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสินค้า หรือบริการ โดยเป็นการผสมผสานจุดแข็งของแต่ละแบรนด์ เพื่อหาจุดเด่นที่เหนือกว่าคู่แข่ง

 

ตัวอย่าง Collaboration Marketing ที่น่าสนใจ

  1. Nike และ Apple การร่วมมือระหว่าง Nike กับ Apple สร้างผลิตภัณฑ์อย่าง Nike+ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตามการวิ่งและการออกกำลังกาย ผ่านแอปพลิเคชันของ Apple

    ภาพจาก Apple
  2. Lay’s X KFC เป็นการรวมตัวกันของสองความอร่อยโดยยึดจากจุดยืนของแบรนด์ Lay’s “เพราะชีวิตต้องมีรสชาติ” Collaboration ร่วมกับไก่ทอด KFC ทำให้เกิดความแปลกใหม่ และรสชาติที่สร้างสรรค์ให้กับลูกค้า

ภาพจาก KFC
 

เคล็ดลับในการทำ Collaboration Marketing

  1. เลือกพันธมิตรที่เหมาะสม ควรเลือกแบรนด์ที่มีค่านิยมและกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกัน เพื่อให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพสูงสุด
  2. กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับการทำการตลาดร่วมกัน เช่น การเพิ่มยอดขาย การเพิ่มการรับรู้แบรนด์ หรือการขยายตลาด
  3. สื่อสารอย่างเปิดเผย การสื่อสารที่ชัดเจนและเปิดเผยระหว่างทั้งสองฝ่ายจะช่วยลดความเข้าใจผิดและทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น
  4. ติดตามผลและปรับปรุง ควรมีการวัดผลการทำงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินความสำเร็จและปรับปรุงกลยุทธ์ในการทำงานร่วมกัน

Collaboration Marketing เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความร่วมมือระหว่างแบรนด์ที่มีเป้าหมายร่วมกัน ด้วยการแชร์ทรัพยากรและความสามารถ ทั้งสองฝ่าย เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนได้อย่างมีนัยสำคัญ


อ้างอิงข้อมูลจาก : thegrowthmaster,  contentshifu

สาระ SME น่ารู้ที่เกี่ยวข้อง