SME ต้องรู้..วิธีจัดการเครดิตเสียให้เป็นดี ในการขอสินเชื่อ

13 พ.ค. 2567

SME Playbook

“ข้อมูลเครดิต หรือ เครดิตบูโร” มีความสำคัญอย่างมาก ในการขออนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร เพราะแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือ และวินัยทางการเงินที่ผ่านมาของผู้ประกอบการ ยิ่งเครดิตดีเท่าไหร่โอกาสที่จะได้รับสินเชื่อก็เพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าใครยังติดปัญหา และกังวลเรื่องเครดิตเก่าๆ อยู่ล่ะก็ เรามีวิธีจัดการเครดิตเสีย เพื่อเตรียมตัวสำหรับการขออนุมัติสินเชื่อของ SMEมาฝาก


เครดิตบูโร คืออะไร?
ข้อมูลเกี่ยวกับการชำระหนี้ และประวัติทางการเงินของลูกค้า ซึ่งถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต และจะส่งมอบเป็นรายงานข้อมูลเครดิตเมื่อมีผู้ขอเรียกดู หรือ เพื่อให้กับสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ใช้ประกอบในการอนุมัติสินเชื่อ


ข้อมูลเครดิต ประกอบด้วย

1. ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพการสมรม อาชีพ เลขที่บัตรประชาชน กรณีเป็นนิติบุคคล จะเป็นชื่อสถานประกอบการ ที่ตั้ง เลขที่ทะเบียนนิติบุคคล ฯลฯ

2. ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และประวัติการชำระสินเชื่อ ประวัติการชำระราคาสินค้าหรือบริการโดยบัตรเครดิตรวมทั้งสถานะบัญชี สินเชื่อแต่ละบัญชีที่แสดงในรายงานข้อมูลเครดิต เช่น สินเชื่อที่ปิดบัญชีแล้ว หรือ สินเชื่อที่ค้างชำระ


ข้อมูลเครดิตจัดเก็บอย่างไร และเก็บไว้ในระบบนานแค่ไหน
สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตมีหน้าที่นำส่งข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าแต่ละรายให้บริษัทข้อมูลเครดิตเป็นรายเดือน ไปจนกว่าสินเชื่อนั้นจะได้รับการชำระเสร็จสิ้น ในกรณีที่ลูกค้าผิดนัดชำระหนี้และค้างชำระเกิน 90 วัน สถาบันการเงินจะส่งข้อมูลสินเชื่อคงค้างให้บริษัทข้อมูลเครดิตต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ค้างชำระเกิน 90 วัน บริษัทข้อมูลเครดิตจะเก็บข้อมูลเครดิตที่ได้รับจากสถาบันการเงินไว้ในฐานข้อมูลต่อไปอีกเป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่บริษัทข้อมูลเครดิตได้รับข้อมูลจากสถาบันการเงิน

 

  • ติดต่อสถาบันการเงินที่เคยเป็นหนี้ เพื่อชำระหนี้ค้างให้เสร็จสิ้น
      o เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ เพื่อขอลดหนี้
      o เจรจาปรับโครงสร้างหนี้

  • เริ่มสร้างประวัติสินเชื่อใหม่
      o สร้างวินัยการเงินที่ดี
      o ชำระหนี้ให้ตรงเวลา
      o ไม่ผิดนัดชำระหนี้อีก


ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ขอสินเชื่อไม่ผ่าน

  1. ประวัติไม่เข้าตาสถาบันการเงิน ซึ่งแต่ละสถาบันการเงินจะมีการกำหนดนโยบาย และคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น อายุ รายได้ ประวัติการเงิน ภาระหนี้ เป็นต้น ซึ่งหากมีข้อใดที่ขาดตกบกพร่อง หรือไม่ผ่านคุณสมบัติก็อาจะทำให้กู้ไม่ผ่านได้

  2. ความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ สถาบันการเงินจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้จาก สลิปเงินเดือน และหนี้สินของผู้กู้
  3. หลักประกันความเสี่ยง เช่น หลักค้ำประกัน ผู้ค้ำประกัน หากไม่มีความน่าเชื่อถือก็อาจส่งผลต่อการพิจารณา
  4. ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของลูกหนี้ สถาบันการเงินจะพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ที่ผ่านมา หากผู้กู้เคยมีการยื่นขอสินเชื่อมาก่อน


เพียงขั้นตอนเท่านี้ คุณก็สามารถกลับมามีประวัติทางการเงินที่ดีได้อีกครั้ง ทั้งนี้ ข้อมูลเครดิตบูโรเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบในการขออนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินเท่านั้น ไม่ได้มีหน้าที่ขึ้น “บัญชีดำ” หรือ “Blacklist” อย่างที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งการปล่อยสินเชื่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสถาบันการเงินซึ่งจะพิจารณาแตกต่างกันออกไป


ที่มาข้อมูล : ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ

สาระ SME น่ารู้ที่เกี่ยวข้อง