10 มี.ค. 2568
SME Trend
ความกดดันในการทำธุรกิจเป็นสิ่งเป็นสิ่งที่ SME ต้องเจอบ่อยๆ แต่เมื่อความกดดันสะสมมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและใจ รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ถ้าไม่อยากให้ความกดดันกลับมาทำร้ายตัวเองทีหลัง ลองมาเช็กสัญญาณเตือน และหาวิธีการจัดการตัวเองกันก่อนดีกว่า
• ร่างกาย: ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย
• จิตใจ: หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ ขาดแรงจูงใจ
• พฤติกรรม: แยกตัวออกจากสังคม ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ผิดพลาดบ่อยขึ้น
o ภาวะซึมเศร้า ความเครียดเรื้อรังสามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล
o ภาวะหมดไฟ (Burnout) ความเครียดสะสมทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์และร่างกาย ขาดแรงจูงใจในการทำงาน
o ปัญหาความสัมพันธ์ ความเครียดอาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทำให้หงุดหงิดง่าย และแยกตัวออกจากสังคม
o สมาธิสั้นลง ความเครียดทำให้เกิดอาการกังวล ว้าวุ่น จนทำให้เกิดสมาธิสั้นลง
1. ยอมรับและเข้าใจความรู้สึก อย่าปฏิเสธความรู้สึกของตัวเอง ยอมรับว่าคุณกำลังกดดัน และทำความเข้าใจว่าอะไรคือสาเหตุของความกดดันนั้น
2. เลิกยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ บางครั้งความกดดันก็มาจากตัวของเราเองที่จะพยายามเป็นคนที่เพอร์เฟกต์ เก่งในทุกๆ ด้าน หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็จะทำให้รู้สึกแย่ การยอมรับความจริง และบอกกับตัวเองว่าช่างมันเหอะ เราทำดีที่สุดแล้ว จะช่วยทำให้ความกดดันในใจเราลดลงได้
3. Work Life Balance การทำงานอย่างต่อเนื่องโดยไม่พักผ่อนจะยิ่งทำให้ความกดดันเพิ่มขึ้น แนะแบ่งเวลาพักผ่อนสั้นๆ ระหว่างวัน หรือหากิจกรรมยามว่างทำในช่วงวันหยุด ช่วยทำให้ร่างกายได้ผ่อนลาย
4. ดูแลสุขภาพกายและใจ เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด เช่น การทำสมาธิ การฟังเพลง หรือการอ่านหนังสือ
5. พูดคุยกับคนใกล้ชิด: ระบายความรู้สึกกับเพื่อน คนในครอบครัว หรือผู้เชี่ยวชาญ การพูดคุยจะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์
ที่มาข้อมูล : adaymagazine , โรงพยาบาลรามคำแหง