ทำธุรกิจจำเป็นต้องจด VAT หรือไม่?

21 ส.ค. 2567

SME Playbook

การจด VAT (Value Added Tax) หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเป็นแค่ไหนกับการทำธุรกิจ แล้วธุรกิจอะไรบ้างที่ต้องจด หรือได้รับการยกเว้น รวมถึงข้อดีและข้อเสียที่ SME จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ข้อดีของการจด VAT

  1. เพิ่มความน่าเชื่อถือ ธุรกิจที่จด VAT จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เนื่องจากการลงทะเบียน เป็นการยืนยันว่าธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายและมีการจัดการที่เป็นระเบียบ
  2. ช่วยลดต้นทุน การจด VAT ทำให้ธุรกิจสามารถขอคืนภาษีซื้อได้ เช่น การซื้ออุปกรณ์สำนักงาน หรือของที่ซื้อมาขาย ทำให้ช่วยลดต้นทุนได้
  3. เพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ ปัจจุบันไม่ว่าจะลูกค้าหรือคู่ค้าต่างต้องการใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการลดภาษีซื้อของตัวเองเช่นกัน ดังนั้นการจดภาษีมูลค่าเพิ่มไว้จะช่วยทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจและเลือกทำการค้ากับธุรกิจคุณมากกว่าธุรกิจที่ไม่ได้จด VAT
  4. ทำให้การจัดการบัญชีเป็นระบบ เพราะจะต้องทำบัญชีรายงานภาษีซื้อ-ขายทุกเดือนให้เจ้าหน้าที่สรรพกรมาตรวจ การทำบัญชีอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การตรวจสอบความถูกต้องได้ง่าย


ข้อเสียของการจด VAT

  1. สินค้ามีราคาแพงขึ้น เพราะจะต้องคิดภาษีเข้าไปรวมอีก 7%
  2. ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ในการบริหารจัดการภาษี รวมถึงการซื้อโปรแกรมบัญชีหรือการจ้างพนักงานเพิ่มเติม
  3. ต้องยื่นรายงานภาษีซื้อ – ภาษีขายทุกเดือน โดยยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)ทุวันที่ 15 หรือยื่นผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 23 ของทุกเดือน ซึ่งหากไม่ได้ยื่น หรือยื่นไม่ทันก็อาจจะถูกเจ้าหน้าที่สรรพกรคิดค่าปรับได้
  4. ทำให้การจัดการบัญชีเป็นระบบ เพราะจะต้องทำบัญชีรายงานภาษีซื้อ-ขายทุกเดือนให้เจ้าหน้าที่สรรพกรมาตรวจ การทำบัญชีอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การตรวจสอบความถูกต้องได้ง่าย


ธุรกิจแบบไหนบ้างที่ต้องจด VAT

  1. ธุรกิจที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  2. ธุรกิจที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือบริการ ที่อยู่ในข้อบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้าง โรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือติดตั้งเครื่องจักรกล
  3. ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือบริการในราชอาณาจักร โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนรับผิดชอบในการจดทะเบียน


ธุรกิจแบบไหนบ้างที่ได้รับการ “ยกเว้น” ไม่ต้องจด VAT

  1. ธุรกิจขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร ขายสัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
  4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร


อ้างอิงข้อมูลจาก : Makewebeasy , itax

สาระ SME น่ารู้ที่เกี่ยวข้อง