Freshket สตาร์ตอัปพันล้าน พลิกโอกาสจากตลาดค้าผัก

14 พ.ค. 2568

SME Inspiration

บางครั้งไอเดียการสร้างธุรกิจก็มาจากการที่เรามองเห็นปัญหา หรือโอกาสบางอย่างที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่อยู่รอบตัว เช่นเดียวกับ สตาร์ตอัปรุ่นใหม่ที่น่าจับตามอง โดยคุณพงษ์ลดา พะเนียงเวทย์  CEO และ Co-Founder  และ คุณคมจักร รัตคาม Chief  of Staff  (CoS) ผู้บริหารเฟรชเก็ต Freshket ที่มองเห็นช่องว่างและโอกาสในตลาดค้าผัก และได้สร้างธุรกิจที่เข้ามาช่วยจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น จนปัจจุบันกลายเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์แหล่งรวมวัตถุดิบ สำหรับร้านอาหาร ที่มียอดขายเติบโตมากถึง 2,300 ล้านบาท ต่อปี

 

 

สร้างธุรกิจากการขายผัก 

คุณพงษ์ลดา :  เบลเป็นคนที่อยากเป็นเจ้าของกิจการ ตั้งแต่ตอนเด็กเลยค่ะ พอเรียนจบมาแล้วก็เข้าไปทำงานในบริษัทแล้วถึงจุดหนึ่งเราก็อยากออกมาทำธุรกิจของตัวเอง ก็เลยตัดสินใจออกมาทำ โรงคัดตัดแต่งผักกับเพื่อนอยู่ที่ตลาดไท ทำไปสักพักหนึ่งก็ได้เห็นทั้งโอกาสและก็ปัญหา โอกาสอย่างแรกเลยที่ได้เห็นก็คือ สินค้าวัตถุดิบทางด้านการเกษตรหรือว่าของสด มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาหรือ 24 ชั่วโมง 

 

คุณพงษ์ลดา :  เบลก็เลยมองว่าขนาดตลาดตรงนี้ เป็นขนาดตลาดที่ใหญ่มากๆ ทีนี้ เรามองเห็นปัญหาด้วยว่าในอุตสาหกรรมนี้เอง มีการกระจัดกระจายของห่วงโซ่อุปทานอยู่เยอะมากเลย เราก็เลยรู้สึกว่าเราน่าจะเป็นคนๆ นั้น ที่เข้ามาช่วยในเรื่องของการปรับปรุงประสิทธิภาพตัวห่วงโซ่อุปทานในกลุ่มสินค้าที่เป็นเกษตรและสินค้าของสด ก็เลยลองดูว่าจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในเรื่องของการปรับปรุงประสิทธิภาพในส่วนนี้ได้หรือเปล่า ก็เลยเริ่มปล่อยไอเดียเฟรชเก็ตออกมา ซึ่งเฟรชเก็ตออกมาตอนแรก  เราใช้รูปแบบที่เรียกว่า Market Place ในการที่เป็นตลาดตรงกลาง เชื่อมโยงและระหว่างผู้ซื้อกับผู้ปลูกเข้าด้วยกัน และเราก็ผู้ดูแลระบบตรงกลางให้


 

Freshket แหล่งรวมวัตถุดิบ สำหรับร้านอาหาร

คุณคมจักร : เฟรชเก็ตเราเป็น Technable Food Supply Chain Platform นะครับ คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ เราบริหารจัดการต้นน้ำ ไปจนถึงขั้นการรับซื้อสินค้าจากเกษตรกร รวมถึงคัดตัดแต่งวัตถุดิบบางประเภท เพื่อนำมาบริหารจัดการต่อในกระบวนการขนส่ง เพื่อนำไปส่งให้กับผู้บริโภคหรือร้านอาหาร ปัจจุบันนี้ เรามีสินค้าอยู่ประมาณ 1 หมื่นกว่ารายการแล้วไม่ว่าจะเป็นอาหาร ของสด ของแห้ง รวมไปถึงหลายๆ คนก็อาจจะไม่รู้ ธูปเทียนที่บางร้านก็นำไปใช้ในการไหว้ เราก็มีให้โดยที่ทางลูกค้าก็สามารถใช้บริการของเฟรชเก็ตได้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากว่าเรารับคำสั่งซื้อทั้งหมด 3 ช่องทางหลักๆ อันแรกก็คือ Mobile Application อันนี้ 2 เว็บไซต์ แล้วก็สำหรับลูกค้าที่มีระบบ ERP ของตัวเองเราก็รับจากการเปิดคำสั่งซื้อผ่านระบบ ERP ด้วยเช่นกันครับ

Freshket สดจริงส่งไว ใส่ใจร้านอาหาร

คุณคมจักร : จุดเด่นของเฟรชเก็ตเลย คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกษ์ใช้ กับกระบวนการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน อย่างแรกเลย คือ Application หรือว่า Website Platform ต่างๆเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสินค้า การค้นหาสินค้า การสั่งซื้อซ้ำ รวมไปถึงการจ่ายเงินแล้วเฟรชเก็ตเองเราก็ให้บริการสนับสนุน สามารถทักแชตได้ใน Application เลย เมื่อทำคำสั่งซื้อเสร็จแล้วต้องการชำระเงิน เอกสารทั้งบัญชี ไม่ว่าจะเป็นใบคำสั่งซื้อ ใบเสร็จรับเงินต่าง ๆ เรามีไฟล์สแกนเป็น PDF อย่างที่ 2 การขนส่งของเฟรชเก็ต ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะรับสินค้าทุก 1 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็น 8:00-9:00 น. 9:00-10:00 น. 10:00-11:00 น. ส่วนที่ 3 คือ เรื่องของการควบคุมคุณภาพสินค้า อย่างไรคุณภาพของสินค้าก็เป็นเรื่องหลักของเรา 

 

การมีเทคโนโลยีเรานำมาช่วยการคาดการณ์ความต้องการ ที่ลูกค้าต้องการใช้หรือประมาณการยอดคำสั่งซื้อล่วงหน้า เราทำงานในรูปแบบของการจัดการสินค้าคงคลังแบบทันเวลาพอดี หมายความว่าเมื่อลูกค้าต้องการสินค้าหรือมีการสั่งซื้อแล้ว เราถึงดำเนินการจัดหาสินค้าจากเกษตรกรหรือผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบ  ทำให้เราไม่ต้องถือสินค้าคงคลังเลย ทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าของที่ได้รับเป็นของสด


 

Turning Point สู่การเติบโต

คุณพงษ์ลดา : จุดเปลี่ยนอันที่ 1 อยู่ที่รูปแบบธุรกิจ หลังจากที่เฟรชเก็ตเปิดตัวมาประมาณปีหนึ่ง เราก็ได้เรียนรู้ว่าที่เป็นรูปแบบของ Market Place อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ในกลุ่มของ B2B ธุรกิจต่อธุรกิจ เพราะว่ากลุ่มเป้าหมายของเรา คือ กลุ่มร้านอาหาร หรือว่า HORECA (โรงแรม ร้านอาหาร คาเฟ่-จัดเลี้ยง) ตัวร้านอาหารเองเขายุ่ง ก็เลยไม่มีเวลาที่จะไปเลือกมะเขือเทศจากหลายๆ ผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบ เขาก็เลยบอกว่าถ้ามีที่หนึ่ง ที่สามารถคัดมาให้เลยว่าราคาดีที่สุดและคุณภาพดีที่สุดมันเป็นเท่าไหร่ เพราะในหัวเขา รู้อยู่แล้วว่าราคามะเขือเทศมันควรเป็นเท่าไหร่ เราก็เลยเปลี่ยนจากรูปแบบ ที่เป็นตลาดที่มีหลากหลายผู้ผลิตสินค้า มาเป็นรูปแบบที่เราเรียกว่า ผู้สร้างห่วงโซ่อุปทานนั่นเอง

 

ตอนนี้พอเป็นผู้สร้างห่วงโซ่อุปทาน เราต้องทําห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดเลย เริ่มตั้งแต่อย่างแรก ก็ต้องมีเรื่องของศูนย์กระจายสินค้าที่เป็นที่รวบรวม จนไปถึงการขนส่งที่เราต้องทําเองด้วย อันดับที่ 2 ช่วงของโควิด-19 เนื่องจากว่าตอนนั้นเอง ร้านอาหารก็มีการปิดตัวอย่างถาวร แล้วก็มีการปิดตัวอย่างชั่วคราวด้วย ตอนนั้นเองเราก็เลยเปลี่ยนจาก B2B ธุรกิจต่อธุรกิจ เป็น B2C ธุรกิจค้าขายโดยตรงกับผู้บริโภค เพราะว่าตอนนั้นเองก็มีความต้องการจากกลุ่มลูกค้าบ้าน ที่ต้องการวัตถุดิบเข้าไปทําอาหารเหมือนกัน เพราะว่าไม่สามารถที่จะสัญจรออกไปข้างนอกได้ เราก็เลยปรับเพื่อที่จะเปลี่ยนรูปแบบ ก็เลยทําให้ตอนนั้นยอดขายพุ่งตัวสูงขึ้นไปอีก


จากตอนที่ทํา B2B ธุรกิจต่อธุรกิจ ทีนี้เปลี่ยนรอบที่ 3 หลังจากช่วงโควิด-19 ทุกคนน่าจะเริ่มรับรู้ถึงเศรษฐกิจ ที่ไม่ว่าในประเทศไทยหรือประเทศต่างๆ ก็เผชิญกับวิกฤตก็ทําให้เราหันกลับมาสู่ยุคที่เราเรียกว่า ควบคุมต้นทุน ก็เริ่มต้องเพิ่มประสิทธิภาพในลดค่าใช้จ่ายต่างๆ  เพื่อให้บริษัทได้ผลกำไร และก็สามารถทำงานได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ปัจจุบันนี้ เราก็สามารถเจริญเติบโต ยอดขายปีที่แล้วปิดอยู่ที่ประมาณ 2,300 ล้านบาท และในขณะเดียวกันค่าใช้จ่าย ที่เราเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้  ก็ลดลงมาอย่างมีนัยสำคัญไม่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์

 

Passion คือ แรงผลักดันของธุรกิจ

คุณพงษ์ลดา : ถามว่าเจอปัญหานี่เจอทุกวันอยู่แล้ว เจอใหญ่ๆ ก็ทุกปี ไม่ว่าจะเป็นภายในเองหรือภายนอก แต่ว่าสําหรับเบลมี 2 เรื่องที่ทําให้เบลเองอยากทําเฟรชเก็ตต่อไป เรื่องแรกเบลเป็นคนที่มีความสุขจากความก้าวหน้า คือ ทําเฟรชเก็ตมาทุกวัน เบลเห็นความคืบหน้าของเฟรชเก็ต ที่จะไปถึงวิสัยทัศน์ที่เบลมองไว้ คือ เบลอยากสร้างระบบเชื่อมโยงและเกื้อกูลซึ่งและกันในทางธุรกิจของห่วงโซ่อุปทาน ในกลุ่มของวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แล้วสิ่งที่เฟรชเก็ตและทีมเฟรชเก็ตทําทุกวันนี้มันก็มีความก้าวหน้า ในการเข้าใกล้ถึงภารกิจตัวนั้นที่เราวางร่วมกันเอาไว้ มันก็เลยทําให้มีเหนื่อยไหม มีเหนื่อยอยู่ แล้วท้อไหม ท้ออยู่แล้วค่ะ แต่พอเราเห็นความก้าวหน้าที่เราได้ทํามา ก็ทําให้มีกําลังใจมากขึ้น ข้อที่ 2 ที่ทําให้เบลยังทําเฟรชเก็ตต่อไปก็ คือ ตัวเบลเอง เบลให้ค่ากับการเรียนรู้ การทําเฟรชเก็ตเองในทุกๆ วันที่มีปัญหาในทุกเดือน ทุกๆ ปี มันก็ทำให้เรียนรู้และทำให้เราเติบโต ดีขึ้นในทุกๆ ปีเลย เบลก็ภูมิใจในตัวเองด้วยที่ในทุกๆ วันได้เติบโต ได้เรียนรู้ แล้วก็สามารถพาเฟรชเก็ตเดินหน้าไปได้ในลำดับต่อไปได้ค่ะ

 

 

Thai credit Standby

คุณคมจักร : สําหรับเฟรชเก็ตเองเป็นบริษัทที่เราอาจจะถูกเรียกว่า สตาร์ตอัป ซึ่งธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่เฟรชเก็ตอยู่ เรามีการซื้อจากกลุ่มเกษตรกรที่เขาอาจจะมีสายป่านสั้น ดังนั้นเฟรชเก็ตมีความจําเป็นต้องจ่ายเงินให้ผู้ขายค่อนข้างเร็ว ในขณะเดียวกันกับผู้ซื้อบางราย เรามีเครดิตเทอมให้ ดังนั้น จําเป็นมากๆ เลย สําหรับธุรกิจอย่างเฟรชเก็ต หรืออุตสาหกรรมอย่างเฟรซเก็ต ที่ต้องมีแหล่งเงินทุนหมุนเวียน ตรงนี้ทางเฟรชเก็ตก็ได้รับสนับสนุน จากทางธนาคารไทยเครดิตในการได้รับมาซึ่งสินเชื่อ สําหรับการนําเงินทุน มาเป็นเงินทุนหมุนเวียนสําหรับกิจการ จริงๆ ได้มีโอกาสรู้จักธนาคารไทยเครดิต คือ ช่วงโควิด-19 ซึ่งเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมการเงินก็มีการตึงตัวมาก แต่ว่าธนาคารไทยเครดิตก็เปิดกว้าง ในการที่ลองคุยกับเฟรชเก็ตก่อน เพื่อหาโครงสร้างธุรกรรม หรือว่าหาแนวทางการแก้ปัญหา การออกผลิตภัณฑ์มาร่วมกับทางเฟรชเก็ต ซึ่งก็ทําให้เฟรชเก็ต สามารถบริหารสภาพคล่องในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาได้  และก็สามารถนำเงินทุนหมุนเวียนต่างๆ มาต่อยอดธุรกิจได้จนถึงทุกวันนี้ สุดท้ายผมก็อยากขอบคุณธนาคารไทยเครดิตมาก ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนบริษัทคนไทย สตาร์ตอัปผู้ประกอบการไทยให้เติบโตขึ้นไปได้ครับ

 

 

 

สาระ SME น่ารู้ที่เกี่ยวข้อง